ประวัติกีฬายูโด
ท่านปรมาจารย์ จิโกโร คาโน
ยูโด (Judo) เป็น ศิลปะการป้องกันตัวประเภทหนึ่งที่ถือกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ปัจจุบันมีผู้นิยมฝึกหัดเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ยูโดเป็นรูปแบบของการป้องกันตัวเป็นศิลปะส่วนหนึ่งของชาวญี่ปุ่นที่มีการดัดแปลงปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมันอกจากจะเป็นการฝึกเพื่อป้องกันตัวเองแล้วยังเป็นการบริหารร่างกายเพื่อให้ เกิดความแข็งแรง ฝึกสมาธิให้มั่นคง ผู้ฝึกจะได้รับประโยชน์ทั้งด้านร่างกาย และสมาธิด้านจิตใจอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการจู่โจมคู่ต่อสู้ หรือการตั้งรับ
ยูโดมีชื่อเต็มว่า โคโดกัน ยูโด (Kodokan Judo) เดิมทีเดียวเรียกกันว่า ยูยิตสู (Jiujitsu) ซึ่ง เป็นวิชาที่สามารถต่อสู้กับคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธด้วยมือเปล่าและเป็นการ ทำลายจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ในประเทศญี่ปุ่นมีการเล่นยูยิตสูกันอย่างแพร่หลายมากญี่ปุ่นมีความเชื่อว่ามีตนเองมีเชื้อสายมาจากเทพยดา เทพธิดา และเชื่อว่าตนเองเป็นลูกพระอาทิตย์ มีถิ่นที่อยู่บนเกาะใหญ่น้อยทั้งหลาย ราวๆ 3,000-4,000 เกาะ จากการที่อยู่อาศัยบนเกาะต่างๆ นี้เองจึงมีความคิดเห็นไม่ตรงกันและไม่สามารถรวมกลุ่มกันได้ ทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจความเป็นใหญ่ ผู้ที่ได้รับชัยชนะก็พยายามซ่องสุมเสริมสร้างกำลังพลให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ผู้ที่พ่ายแพ้ก็พยายามที่จะรวบรวมสมัครพรรคพวกที่พ่ายแพ้ขึ้นใหม่เพื่อรอจังหวะช่วงชิงอำนาจกลับคืนมา
หลังจากที่ญี่ปุ่นได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการต่อสู้ และทำให้วิชายูยิตสูเสื่อมความนิยมลงจนหมดนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2403 ได้มีชาวญี่ปุ่นชื่อ จิโกโร คาโน
(JigoroKano)ชาวเมืองชิโรโกะได้อพยพครอบครัวมาอยู่ในกรุงโตเกียปีพ.ศ. 2414 อายุ 18 ปีได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ในสาขาปรัชญาศาสตร์ (Philosophy) จนสำเร็จการศึกษา เมื่ออายุ 23ปี ท่านจิโกโร คาโน เป็นบุคคลที่มีความเห็นว่าวิชายูยิตสูนอกจากจะเป็นกีฬาสำหรับร่างกายและจิต ใจแล้ว ยังมีหลักปรัชญาที่ว่าด้วยหลักแห่งความเป็นจริง อีกทั้งท่านเป็นคนที่มีรูปร่างเล็กผอมบาง มีนิสัยไม่เกรงกลัวใคร
เมื่อได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิชายูยิตสูอย่างละเอียด ก็พบว่าผู้ฝึกวิชายูยิตสูจนมีความชำนาญดีแล้ว จะสามารถสู้กับคนที่รูปร่างใหญ่โตได้ หรือสู้กับความที่มีอาวุธด้วยมือเปล่าได้ จากการค้นพบทำให้บังเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า ท่านจึงได้เข้าศึกษายูยิตสูอย่างจริงจังจากอาจารย์ผู้สอนวิชายูยิตสูหลาย ท่านจากโรงเรียนเทนจิ ซิโย (Tenjin Shinyo) และโรงเรียนคิโต (Kito) ปี พ.ศ. 2425ท่านจิโกโร คาโน อายุได้ 29 ปี ได้ก่อตั้งโรงเรียนสำหรับวิชายูโดขึ้นเป็นครั้งแรกในบริเวณวัดพุทธศาสนา ชื่อวัดอิโชจิ (Eishoji) โดย ตั้งชื่อสถาบันนี้ว่า โคโดกัน ยูโด โดยได้นำเอาศิลปะของการต่อสู้ด้วยการทุ่มจากสำนักเทนจิ ซิโย และการต่อสู้จากสำนักคิโตเข้ามาผสมผสานเป็นวิชายูโดและได้ปรับปรุงวิธีการยูโดให้เหมาะสมและได้กาสอดคล้องกับความเปลี่ยแปลงในระบอบการปกครองและสังคมในขณะนั้นได้สอดแทรกวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ คณิตศาสตร์ประยุกต์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว จิตศาสตร์ และจริยศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยได้ตัดทอนยูยิตสู ซึ่งไม่เหมาะสมออก แล้วพยายามรวบรวมวิชายูยิตสูให้เป็นหมวดหมู่มีมาตรฐานเดียวกันตามความคิดของ ท่าน และได้ตั้งระบบใหม่เรียกว่า ยูโด (Judo) ในเริ่มแรก ท่านจิโกโร คาโน ต้องต่อสู้กับอุปสรรคจากบุคคลหลายๆ ฝ่ายเพื่อให้เกิดการยอมรับในวิชายูโด โดยเฉพาะจากบุคคลที่นิยมอารยธรรมตะวันตกบุคคลพวกนี้ไม่ยอมรับว่ายูโดเป็น สิ่งที่เกิดใหม่ และดีกว่ายูยิตสู ในปี พ.ศ. 2429 กรมตำรวจญี่ปุ่นได้จัดการแข่งขันระหว่างยูโดกับยูยิตสูขึ้น โดยแบ่งเป็นฝ่ายละ 15 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่ายูโดชนะ 13 คน เสมอ 2 คน เมื่อผลปรากฏเช่นนี้ ทำให้ประชาชนเริ่มสนใจยูโดมากขึ้น ทำให้สถานที่สอนเดิมคับแคบจึงต้องมีการขยายห้องเรียน เพื่อต้อนรับผู้ที่สนใจ จนปี พ.ศ. 2476 จึงได้ย้ายสถานที่ฝึกไปที่ซูอิโดบาชิ (Suidobashi) และสถานที่นี้เองที่เป็นศูนย์กลางของนักยูโดในโลกปัจจุบัน
ยูโดดำเนินการไปด้วยดีและเริ่มมีมาตรฐานอันสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2465 ได้ตั้งThe Kodokun Cultural Xociety ขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2455 ได้ก่อตั้งสหพันธ์ยูโดระหว่างประเทศขึ้น โดยมีประเทศต่างๆ ที่ร่วมก่อตั้งครั้งแรกประมาณ 20 ประเทศ
ในปี พ.ศ. 2499 สหพันธ์ ยูโดระหว่างชาติได้จัดให้มีการแข่งขันเพื่อความชนะเลิศยูโดระหว่าง ชาติขึ้น โดยอยู่ในการอำนวยการของสหพันธ์ยูโดระหว่างประเทศโดโดกัน และหนังสือพิมพ์อาซาอิซัมบุน ซึ่งทั้ง 2 องค์กรช่วยกันจัดการแข่งขันขึ้นมา
ทักษะกีฬายูโด
1. นอนตบเบาะ
นอนหงายตั้งเข่า ให้เท้าวางห่างกันประมาณ 12 นิ้ว ฝ่าเท้าวางราบกับพื้น แขนทั้งสองยกชูขึ้น สายตามองที่สายคาดเอวไว้ก่อน สำหรับผู้หัดใหม่เพื่อป้องกันศีรษะกระทบพื้น
วิธีปฏิบัติ
ให้ตบเบาะโดยใช้ฝ่ามือ และลำแขนทั้งสองพร้อมกันทำมุม 45 องศา กับลำตัว ควรทำเป็น ชุด ๆละ 30 - 50ครั้ง
2. ท่าล้มนั่ง
ท่าเตรียม
นั่งเหยียดเท้าไปข้างหน้า และ ยกแขนทั้งสองขึ้น
ท่าปฏิบัติ
ให้เอนตัวไปข้างหลัง เก็บคอโดยการมองสายคาดเอวไว้ตลอดเวลา แล้วปล่อยให้ตัว กลิ้งไปตามส่วนโค้งของหลัง ในจังหวะแรกที่หลังสัมผัสพื้น ให้ฟาดแขนทั้งสองตบเบาะทันที โดยให้แขนทั้งสองทำมุม 45 องศา กับลำตัว หรือห่างจากลำตัวประมาณ 1 คืบ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดพลังในการตบ และไม่ให้เกิดอันตราย แก่ท่อนแขน ขณะกลิ้งตัว
3. นั่งบนส้นเท้าล้มหลัง
ท่าเตรียม
นั่งบนส้นเท้าเหยียดแขนไปข้างหน้า
วิธีปฏิบัติ
ย่อเข่าลงให้ก้นสัมผัสพื้นก่อน แล้วปล่อยให้กลิ้งไปตามส่วนโค้งของแผ่นหลัง เก็บคอ จังหวะแรก ที่หลังถูกพื้น ให้ตบเบาะทันที
4. ยืนล้มหลัง
ท่าเตรียม
ยืนด้วยปลายเท้า แขนเหยียดตรงไปข้างหน้า ขนานกับพื้นไม่เกร็ง
ท่าปฏิบัติ
ให้ย่อเข่าลงจนก้นสัมผัสพื้น แล้วปล่อยให้ลำตัวกลิ้งไปตามส่วนโค้งของแผ่นหลัง ในจังหวะแรกที่หลังสัมผัสพื้น ให้ตบเบาะช่วยด้วยลำแขน และฝ่ามือทันที
5. นั่งล้มข้าง ซ้าย - ขวา
ท่าเตรียม
ให้นั่งเหยียดเท้าไปข้างหน้า
ท่าปฏิบัติ
ให้ล้มตัวเอียงไปด้านซ้าย โดยให้สีข้างด้านซ้ายค่อนไปทางด้านหลังสัมผัสพื้นก่อน ในจังหวะแรกที่สีข้างด้านซ้าย สัมผัสพื้นนั้น ให้ใช้มือซ้ายช่วยตบเบาะทันที
6. นั่งส้นเท้าล้ม ซ้าย - ขวา
ท่าเตรียม
ให้นั่งยอง ๆ ด้วยปลายเท้า
ท่าปฏิบัติ
เมื่อต้องการฝึกล้มทางด้านขวา ให้เหยียดเท้าซ้ายออกไปข้างหน้า พร้อมทั้งเหวี่ยงไปทางขวาแล้วค่อย ๆ ย่อตัวลง ให้ก้นสัมผัสพื้น ปล่อยให้ลำตัวกลิ้งไปตามส่วนโค้งของแผ่นหลัง ซึ่งค่อนไปทางด้านซ้าย และจังหวะแรกที่หลัง สัมผัสพื้นเบาะ ให้ตบเบาะช่วยทันที
7. ยืนปัดซ้าย ล้มซ้าย - ยืนปัดขวา ล้มขวา
ท่าเตรียม
ให้ยืนแยกเท้าห่างกันประมาณเท่าช่วงไหล่ ปล่อยตัวสบาย
ท่าปฏิบัติ
เมื่อต้องการล้มซ้าย ให้ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าสั้น ๆ แล้วใช้เท้าซ้ายปัดผ่านไปทางขวา พร้อมทั้งค่อย ๆ ย่อตัวลง โดยการย่อเข่าขวาให้ก้นสัมผัสพื้น ปล่อยให้ลำตัวกลิ้งไปตามส่วนโค้งของแผ่นหลัง ซึ่งค่อนไปทางด้าานซ้าย เล็กน้อย ในจังหวะแรกที่พื้นผิวส่วนใหญ่ ของแผ่นหลังสัมผัสพื้น ให้ตบเบาะช่วยทันที
8. ม้วนไหล่ลง ตบเบาะซ้าย - ขวา
ท่าเตรียม
ถ้าต้องกาารฝึกม้วนไหล่ด้านขวาก่อน ให้ยืนด้วยเท้าขวา นำ เท้าซ้ายตาม
ขาว | |
เขียว | |
ฟ้า | |
น้ำตาล | |
ดำ | |
แดง |
ระดับความสามารถนักยูโด
ระดับความสามารถมาตรฐานของนักยูโดทั้งสองเพศ (ชาย-หญิง) ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยมีสีของสายคาดเอวเป็นเครื่องหมาย ระดับความสามารถมาตรฐานดังกล่าวแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับใหญ่ คือ
- ระดับคิว (Kyu) คือระดับก่อนสายดำที่อาจเรียกว่า นักเรียน
- ระดับดั้ง (Dan) คือระดับที่เรียกว่า ผู้นำ เป็นผู้ซึ่งมีความสามารถสูง ทั้งระดับนักเรียนและระดับผู้นำนี้ยังแบ่งออกเป็นระดับย่อยๆลงอีก โดยมีสีประจำแต่ละระดับไว้ซึ่งแต่ละประเทศกำหนดไม่เหมือนกัน
การกำหนดระดับของนักยูโดในประเทศไทยกำหนดไว้ดังนี้
- รองสายดำ ชั้น 5 สาดคาดเอวสีขาว
- รองสายดำ ชั้น 4 สายคาดเอวสีเขียว
- รองสายดำ ชั้น 3 สาดคาดเอวสีฟ้า
- รองสายดำ ชั้น 2 สายคาดเอวสีน้ำตาล
- รองสายดำ ชั้น 1 สาดคาดเอวสีน้ำตาลปลายดำ
- สายดำ ชั้น 1 สายคาดเอวสีดำ
- สายดำ ชั้น 2 สายคาดเอวสีดำ
- สายดำ ชั้น 3 สายคาดเอวสีดำ
- สายดำ ชั้น 4 สายคาดเอวสีดำ
- สายดำ ชั้น 5 สายคาดเอวสีดำ
- สายดำ ชั้น 6 สายคาดเอวสีขาวสลับแดง หรือ สีดำ
- สายดำ ชั้น 7 สายคาดเอวสีขาวสลับแดง หรือ สีดำ
- สายดำ ชั้น 8 สายคาดเอวสีขาวสลับแดง หรือ สีดำ
- สายดำ ชั้น 9 สายคาดเอวสีแดง หรือ สีดำ
- สายดำ ชั้น 10 สายคาดเอวสีแดง หรือ สีดำ
รูปภาพการต่อสู้กีฬายูโด
ท่าทุ่มคู่ต่อสู้
ท่าล็อกคู่ต่อสู้
วีดีโอการต่อสู้ยูโด
วีดีโอทักษะพื้นฐานกีฬายูโด
babyliss pro nano titanium curling iron - ITNICART
ตอบลบOur ribeye cap capsaicin (covalent) titanium bolt and its micronetylene ford titanium ecosport oxide titanium cup (ECO) (mcc) provide a 2016 ford focus titanium unique, titanium band rings all-natural balance of anti-oxidant.